วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บรรณานุกรม
บรรณานุกรม

การทำขนมโรตีสายไหม .(2554) . สืบค้นจาก http://roteesaimai – melonmo .blog spot .com/?m=1 เมื่อวันที่  15 กันยานยน 2557
การทำขนมโรตีสายไหม.( 2557) . สืบค้นจาก http:// www nine5502468 . blogspot . com.
เมื่อวันที่  กันยายน 2554
ผศ.อภิญญามานะโรจน์ . ( 2550 ) . ขนมหวานไทย. กรุงเทพฯ : แม่บ้าน.
สุปราณ  แพรศิริ . ( 2550 ) . ขนมไทย . กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส,สนพ.
เทคนิคการสร้างและออกแบบ Website ด้วย  Adobe Dreamweaver CS3.
สืบค้นเมื่อ วันที่  17  มิถุนายน 2555
จากเว็บไซต: http://aster.spu.ac.th/file/user/66/66/upload/doc_train/dreamweverCS3.pdf  
โปรแกรม Dreamweaver.
สืบค้นเมื่อ วันที่  20 มิถุนายน 2555
 จากเว็บไซต:             
                                                                        จัดทำโดย นางสาวนุชนาถ  ฤาชา ม.5/3 เลขที่ 36





บทที่ 5 
สรุปผลการดำเนินงาน

สรุปผลการศึกษา

                สมาชิกภายในกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการทำขนมโรตีสายไหม มาอภิปรายผลและสรุปผลการปฏิบัติงานตามโครงงานทำให้พบว่าการทำขนมโรตีสายไหม ถ้าจะให้มีความอร่อย มีความประณีต ต้องอาศัยทักษะในการทำ เราจะต้องหมั่นฝึกปฏิบัติอยู่เป็นประจำใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างงานที่ก่อให้เกิดรายได้เสริมระหว่างเรียนเป็นอย่างดีและนำไปใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

ข้อเสนอแนะ

         1.   น้ำตาลและแป้งสาลีนั้น การผลิตของแต่ละยี่ห้อผลิตมาเหมือนกัน เราจะต้องเลือกหาน้ำตาลและแป้งสาลีที่มีคุณภาพและหอมมันหวานอร่อย

        2.      ในการทำนั้นเราต้องมีความปราณีตละอดทน เพื่อความอร่อยของโรตีสายไหม


                                                                               จัดทำโดยนายธีรวัฒน์  ทองดี  เลขที่ 7 ชั้น ม.5/3
บทที่ 4
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาค้นคว้า
                จากการศึกษาการทำขนมโรตีสายไหม คณะผู้จัดทำสามารถศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต ค้นจากหนังสือในห้องสมุด ค้นจากผู้ชำนาญการในชุมชน ศึกษาดูรูปแบบต่างๆ ทีหลากหลาย และความอร่อย

ตารางที่ 2   ผลการดำเนินงาน

สัปดาห์/วันที่
รายการที่ดำเนินการ
                            18.มิ..2559
เตรียมอุปกรณ์ในการทำขนมโรตีสายไหม
18.มิ.2559
มอบหมายงานของแต่คนในกลุ่ม
18มิ.2559
ลงมือทำตามขั้นตอน
9..2559
ส่งผลงาน

จัดทำโดยนายธนากร  นาคุณ เลขที่ 5ชั้นม.5/3

บทที่ 3 

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
การศึกษาค้นคว้า เรื่องการทำขนมโรตีสายไหม คณะผู้จัดทำได้กำหนดวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
วัสดุอุปกรณ์
1.
กระทะ
2.
ถาดอลูมิเนียม
3.
กระทะแบน
4.
กะละมังอะลูมิเนียม, กะละมังพลาสติกใบใหญ่
5.
ไม้ดึง 2 อัน
6.
น้ำมันบัว
7.
แป้งสาลี
8.
น้ำตาลทราย
9.
น้ำ

วิธีทำสายไหม













1.นำน้ำใส่กระทะตั้งไฟ ใส่น้ำตาล 2 กิโลกรัม เคี่ยวให้เหนียว
2.เทลงกะละมังอะลูมิเนียมใบเล็กนำไปหล่อน้ำในกะละมังพลาสติกใบใหญ่ให้จับกันเป็นก้อน
3. นำแป้งสาลีผสมกับน้ำมันบัวกวนให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง
4. นำน้ำตาลที่เป็นก้อนมาคลึงรวมกับแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำมันบัว ให้เข้ากัน
5. นำน้ำตาลที่ผสมกันแล้ว มาคลึงบนถาดอลูมิเนียม โดยใช้ไม้คลึงทั้งสองด้านให้ได้เป็นเส้นสายไหม


วิธีทำแผ่นโรตี












1. แป้งสาลี น้ำ เกลือ นำมานวดเข้ากันให้เหนียว
2.
ทิ้งไว้ประมาณ 2-5 นาที ให้แป้งขึ้น
3.
ตั้งกระทะแบนบนเตาไฟ ให้ร้อน
4.
นำแป้งที่หมักได้ที่แล้วมาแต้มลงในกระทะแบนเป็นรูปวงกลมเพื่อให้ได้ แผ่นโรตี
  
                                                                                                      จัดทำโดย  นายอานนท์ เกิดเดช ม.5/3 เลขที่ 14

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาเว็บไซต์ เรื่องการทำขนมโรตีสายไหม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมโรตีสายไหม คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลและ เอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
2.1 ทำขนมโรตีสายไหม
 2.2 เว็บไซต์ (Website)
2.3 โปรแกรม Adobe  Dreamweaver
2.1 ทำขนมโรตีสายไหม
      โรตีสายไหมเป็นอาหารประเภทหวานชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลักอยู่สองส่วน คือ แผ่นแป้ง และส่วนที่เป็นน้ำตาลเป็นเส้นไหม เคี่ยวทำเป็นเส้นฝอยที่เรียกว่า สายไหม เวลารับประทานจะนำแผ่นแป้งมาห่อและม้วนเพื่อรับประทาน
      โรตีสายไหมผลิตมามากและขึ้นชื่อที่จังหวัดอยุธยา และผลิตเป็นโอท็อปของ ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการผลิต 5 ขั้นตอนคือ " การโม่แป้ง การต้มแป้ง การทำหัวเชื้อ และการดึงสายไหม
กระทะ 
         เป็นอุปกรณหลักชิ้นหนึ่งในครัว ไว้สำหรับทอด, ย่าง, และปรุงอาหาร โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 20 ถึง 30 ซม. กระทะจะมีแอ่งเรียบตรงกลาง และมีขอบขึ้นมาเป็นวงกลม โดยปกติจะไม่มีฝา
ถาดอมูมิเนียม
 ภาชนะใส่สิ่งของ ทําด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น รูปเตี้ย ๆ แบนมีขอบ
กะละมัง 
         ภาชนะที่มีรูปร่างคล้ายอ่างรูปวงกลมขนาดใหญ่และลึก พื้นอาจจะมนหรือไม่มนก็ได้ ทำจากพลาสติกหรือโลหะเช่นสแตนเลส กะละมังเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สารพัดประโยชน์ เช่นซักผ้า เก็บของ ล้างภาชนะ ล้างอาหาร เตรียมอาหาร อาบน้ำเด็ก รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ไม้
       เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย
น้ำมันบัว
เป็นน้ำมันพืชผสมระหว่างน้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันปาล์มใช้สำหรับการทอด

แป้งสาลี
        เป็นผงที่มนุษย์ใช้บริโภค ทำจากการบดข้าวสาลี แป้งสาลีเป็นแป้งประกอบอาหารที่ผลิตมากที่สุด ข้าวสาลีมีหลายประเภทตามปริมาณกลูเตน ข้าวสาลีแข็งหรือข้าวสาลีขนมปัง มีปริมาณกลูเตนสูง ระหว่าง 12% ถึง 14% และมีความเหนียวยืดหยุ่นที่รักษารูปทรงได้ดีเมื่ออบ แป้งอ่อนมีกลูเตนค่อนข้างต่ำ จึงให้เนื้อที่ละเอียดหรือร่วนกว่า[1] แป้งอ่อนตามปกติแบ่งได้เป็นแป้งเค้ก ซึ่งมีปริมาณกลูเตนต่ำสุด และแป้งพาสต้า ซึ่งมีกลูเตนมากกว่าแป้งเค้กเล็กน้อย
น้ำตาล
           เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตสและกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตสและแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำเพิ่มเป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners)
น้ำ 
       เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ

2.2  เว็บไซต์ ( Website )
         เว็บไซต์ (อังกฤษ: Website, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยง กันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำ ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ใน เวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะ ให้บริการต่อผู้ใช้ฟรีแต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำ เว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือ องค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์



           หลักในการออกแบบเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์นั้นควรเริ่มจากการสร้างแผนผังของเว็บไซต์ก่อน หรือที่เรียกว่า  Site Map
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ
           กำหนดการเชื่อมโยงให้เว็บเพจแต่ละหน้าเชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้กลับไปกลับมา ระหว่างหน้าต่าง ๆ ได้  โดยแสดงชื่อไฟล์  HTML  แต่ละไฟล์ที่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  
ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า
           สามารถออกแบบหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าให้สวยงาม โดยเฉพาะในเว็บเพจหน้าแรก ซึ่งเรียกว่า โฮมเพจนักเรียนควรออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมในขั้นตอนการออกแบบ นี้ บางทีอาจเรียกว่าการออกแบบเลย์เอาท์ (Lay Out) สามารถทำ ได้โดยการเขียนลงในกระดาษ หรือใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ 
 ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า
           นำเว็บเพจที่ออกแบบไวม้าสร้างโดยใช้ภาษา html หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น FrontPage, Macromedia  Dreamweaver หรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความถนัด
ขั้นตอนที่ 5 การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์ 
          การเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลอื่นๆ  สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ วิธีการ คือ นำเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นไปไว้บนพื้นที่ที่ให้บริการ (Web Hosting) ซึ่งมีพื้นที่ ที่ให้บริการฟรี และแบบที่ต้องเสียค่าบริการ
ขั้นตอนที่ 6 การอัพโหลดเว็บไซต์
           หลังจากสร้างเว็บไซต์และลงทะเบียนขอพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์แล้ว   ให้ใช้โปรแกรม สำ หรับอับโหลด (Upload)  เช่นโปรแกรม  CuteFTP เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเรา ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลักในการสร้างเว็บเพจ
1. การวางแผน
          กำหนดเนื้อหา ก่อนลงทำเว็บ เราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะไดนำเนื้อหา เหล่านั้นมาใส่ในเว็บเพื่อแสดงให้เห็นว่าเนื้อหา โดยรวมเกี่ยวกับอะไร   เช่น  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีข้อมูลของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ลักษณะ ราคาแต่ละรุ่นและสถานที่ขาย เป็นต้น
          ออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบในเว็บเพจว่าส่วนใดควรจะ มีอะไร อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษเปล่า ๆ ไว้ก่อนหรือใช้โปรแกรมแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการ ออกแบบก็ได้    การใช้ตารางช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บนั้นจะทำ ให้เว็บเพจมีความเป็น ระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับปรุง 
 2. การเตรียมการ
           เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่า ต้องการจะนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลก็ มีส่วนสำคัญย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บ เกี่ยวกับ โรงเรียน ก็ต้องไปหาคติพจน์ประจำ โรงเรียน สีประจำโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียน ประวัติโรงเรียน ฯลฯ มารวบรวมไว้  แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมา จัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำ นั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญเครื่องมือในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โปรแกรมในการ จัดทำเว็บเพจจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้ พร้อม
 3. การจัดทำ  
               เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทา   อาจจะทำคนเดียว หรือทำ เป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้ซึ่งจะอธิบายถึง วิธีการจัดทา หรือวิธีการสร้างเว็บเพจในลำ ดับต่อไป
 4. การทดสอบและการแก้ไข
               การสร้างเว็บเพจทุกครั้งควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมา แก้ไขการทำเว็บนั้นเมื่อทำเสร็จและอับโหลดไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้วให้ทดลองแนะนำ เพื่อนที่ สนิทชิดเชื้อและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การเชื่อมโยงต่าง ๆ , รูปภาพ และตัวอักษร ว่าถูกต้องช้าไป หรือเปล่า หากทดสอบจากเครื่องของตนเองแล้ว ข้อผิดพลาด ต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ  จะอยู่ในเครื่องของตนเองและการเชื่อมโยง ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทำ การค้นหาในเครื่องจนพบ ทำ ให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบ แล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพดลาด
5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์       
เมื่อสร้างเว็บเพจเสร็จ จัดรวบรวม และเรียบเรียงหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าทำ การทดสอบ แก้ไข ปรับปรุงเสร็จแล้ว ก็สามารถเผยแพร่เว็บเพจทั้งหมดออกสู่สาธารณชนในรูปแบบของเว็บไซต์ได้

2.3 โปรแกรม Adobe Dreamweaver 
รู้จักกับ Dreamweaver
          Dreamweaver ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บเพจ และ ดูแลเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ สูง เป็นที่นิยมใช้ของ  Web Master อย่างกว้างขวาง  ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเขียนภาษา HTML โดยเฉพาะ พร้อมทั้งสามารถแทรก Java Scripts และ ลูกเล่นต่างๆได้มากมาย  โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้หลัก ภาษา HTML มากนัก ซึ่งช่วยประหยัดเวลา และทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Dreamweave
  อะโดบี ดรีมวีฟ เวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมโครมีเดีย ดรีมวีฟ เวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย (ปัจจุบันควบ กิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์) สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบ WYSIWYG กับการ ควบคุมของส่วนแก้ไขรหัส HTML ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้ ทำให้ ดรีมวีฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2533 จนถึงปีพ.ศ. 2544 ดรีมวีฟเวอร์มีสัดส่วนตลาดโปรแกรมแก้ไข HTML อยู่มากกว่า 70% ดรีมวีฟเวอร์มีทั้งในระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และไมโครซอฟทว์นิโดวส์ ดรีมวีฟเวอร์ยงัสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติตารางแบบยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำ ลองอย่าง WINEได้รุ่นล่าสุดคือ ดรีมวีฟเวอร์ CS5
การทำงานกับภาษาต่างๆ
        ดรีมวีฟเวอร์ สามารถทำงานกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนเว็บไซต์แบบไดนามิค ซึ่งมีการ ใช้HTML เป็นตัวแสดงผลของเอกสาร เช่น ASP, ASP.NET, PHP, JSP และ ColdFusion รวมถึงการ จัดการฐานข้อมูลต่างๆ อีกด้วย และในเวอร์ชันล่าสุด (เวอร์ชัน CS4) ยังสามารถทา งานร่วมกับ XML และ CSS ได้อย่างง่ายดาย
 ความสามารถของ Dreamweaver
         ในการเขียนเว็บเพจ จะมีลักษณะคล้ายกับการพิมพ์งานในโปรแกรม Text Editor ทั่วไป คือว่า มันจะเรียงชิดซ้ายบนตลอดเวลา ไม่สามารถย้าย หรือ นำไปว่างตำแหน่งที่ต้องการได้ทันที่เหมือน โปรแกรมกราฟิก เพราะฉะนั้นหากเราต้องการจัดวางรูปแบบตามที่เราต้องการ ก็ใช้ตาราง Table เข้ามา ช่วยจัดตำแหน่ง ซึ่งเมื่อมีการจัดวางรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น การเขียนภาษา HTML ก็ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่นกัน โปรแกรม Dreamweaver อาจจะไม่สามารถเขียนเว็บได้ตามที่เราต้องการทั้งหมด วิธีการแก้ไข ปัญหาที่ดีที่สุดคือ ควรจะเรียนรู้หลักการของภาษา HTML ไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพ Webmaster แบบจริงจัง อาจจะไม่ต้องถึงกับท่องจา  Tag ต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่ขอให้รู้ เข้าใจหลักการก็พอแล้ว เพราะหลาย ๆ ครั้งที่เราจะเขียนเว็บใน Dreamweaver แล้วกลับ ได้ผลผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงตามที่ต้องการ ก็ต้องมาแก้ไข Code HTML เอง และความสามารถของ Dreamweaver สรุปได้ดังนี้
            1. สนับสนุนการทำงานแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) หมายความว่า เว็บที่เราเขียนหน้าจอ Dreamweaver ก็จะแสดงแบบเดียวกับเว็บเพจจริงๆ ช่วยให้เราเขียนเว็บเพจง่าย ขึ้น ไม่ต้องเขียน Code HTML เอง
            2. มีเครื่องมือในการช่วยสร้างเว็บเพจที่มีความยืดหยุ่นสูง
           3. สนับสนุนภาษาสคริปต์ต่างๆ ทั้งฝั่ง Client และ Server เช่น Java, ASP, PHP, CGI, VBScript
           4. มีเครื่องมือในการ Upload หน้าเว็บเพจไปที่เครื่อง Server เพื่อทำการเผยแพร่งานที่เราสร้าง ในอินเทอร์เน็ต โดยการส่งผ่าน FTP หรือ โดยการใช้โปรแกรม FTP ภายนอกช่วย เช่น WS FTP                       
           5. รองรับมัลติมีเดีย เช่น การใส่เสียง, การแทรกไฟล์วิดีโอการใช้งานร่วมกับ Flash , Fireworks  

 จัดทำโดย นางสาวปัทมา  กองทอง ม.5/3 เลขที่ 37

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1

ที่มาและความสำคัญของขนมโรตีสายไหม
             โรตีสายไหมเป็นขนมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษคือ นายบังเปีย แสงอรุณ เป็นผู้นำเข้ามาในจังหวัดอยุธยา นายบังเปียเกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือทำนา มีพี่น้อง 10 คน ชื่อจริงคือ นายซาเล็ม แสงอรุณ เกิดวันพุธ เดือน 12 ปี พ.ศ. 2489 ณ บ้านวงแหวน บางปะอิน คลอง 1 อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยฐานะที่ยากจน เด็กชายซาเล็มจึงตัดสินใจออกจากบ้าน เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ไปรับจ้างทั่วไปตามต่างจังหวัด จนกระทั่งไปอาศัยอยู่กับอาที่อำเภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ช่วยทำขนมหวาน เช่น โรตีกรอบ โรตีใส่นม แล้วนำไปขายที่บริเวณวัดหลวงพ่ออี๋   ในแต่ละวันเมื่อขายขนมเสร็จแล้ว จะต้องกลับไปเคี่ยวน้ำตาล เพื่อนำไปหยอดที่แป้งกรอบ   มีบางครั้งเคี่ยวน้ำตาลนานไปน้ำตาลจะแข็ง บังเปียจึงทดลองดึงน้ำตาลให้ยืดขึ้น เพื่อให้น้ำตาลอ่อนตัว หยอดที่โรตีกรอบได้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำโรตีสายไหม และฝึกหัดดึงน้ำตาลเคี่ยวให้เป็นเส้นไหมอยู่หลายปี จนมีความชำนาญ
            จากการศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ได้ทราบว่าความเป็นมาของโรตีสายไหม เป็นอาหารประเภทขนมหวานชนิดหนึ่งมีส่วนประกอบหลักอยู่สองส่วนคือ แผ่นแป้ง และไส้ที่เป็นน้ำตาลเคี่ยวทำเป็นเส้นฝอยที่เรียกว่าสายไหม เวลารับประทานจะนำแผ่นแป้งมาห่อไส้และม้วนเพื่อรับประทาน ขนมสายไหมนั้นมีประโยชน์และโทษต่อสุขภาพ ประโยชน์ของขนมโรตีสายไหมคือ กินเป็นอาหารว่าง ให้ความหวาน อร่อย โทษของขนมโรตีสายไหมคือ ถ้าเรากินขนมโรตีสายไหมในปริมาณมากจนเกินไปทำให้เป็นโรคประจำตัวหรือโรคเบาหวานได้

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.             เพื่อศึกษาการทำขนมโรตีสายไหม
2.             เพื่อศึกษาความพึงพอใจสูตรของขนมโรตีสายไหม

สมมติฐานการศึกษา
ขนมโรตีสายไหมมีประโยชน์และโทษต่อร่างกาย






แผนการดำเนินงาน
ตารางที่ 1.  แผนการดำเนินงาน
สัปดาห์/วันที่
รายการที่ดำเนินการ
สถานที่ดำเนินกิจกรรม
นักเรียนผู้รับผิดชอบ
18/มิ./2559
เตรียมอุปกรณ์ในการทำขนมโรตีสายไหม
บ้านโจดใหญ่
          สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
18/มิ./2559
มอบหมายงาน ของแต่ละคนในกลุ่ม
บ้านโจดใหญ่
นางสาวนุชนาถ  ฤาชา
นางสาวปัทมา  กองทอง
18/มิ./2559
ลงมือทำตามขั้นตอน
บ้านโจดใหญ่
          สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
พฤศจิกายน
ออกแบบเว็บไซต์
โรงเรียนพล
สมาชิกในกลุ่ม
พฤศจิกายน
จัดทำเว็บไซต์
การทำขนมโรตีสายไหม
       โรงเรียนพล
สมาชิกในกลุ่ม
          ธันวาคม
เผยแพร่ผลงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โรงเรียนพล
สมาชิกในกลุ่ม
มกราคม
ทำเอกสารสรุปรายงาน
การศึกษาค้นคว้า
โรงเรียนพล
สมาชิกในกลุ่ม













ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             ได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษต่อร่างกาย
2.             สามารถช่วยรับประทานเป็นอาหารว่างได้
3.             มีทักษะในการทำขนมโรตีสายไหมสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้
4.             ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
5.             ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์
จัดทำโดย นางสางนุชนาถ ฤาชา ม.5/3 เลขที่ 36